โครงการวิจัย "การศึกษาผลกระทบของมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ที่มีต่อผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชี" (สำหรับผู้ทำบัญชี)

 

ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้ออกประกาศให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554  เป็นต้นไป  เพื่อแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ  ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลจากรายงานทางการเงินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบกิจการและผู้ใช้งบการเงินได้

งานวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้ทำบัญชี ที่นำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะมาปฏิบัติ  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต   ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้ทำและให้ข้อเสนอแนะแนวทางนำประโยชน์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่อไป  ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต  คณะการบัญชี  โดยข้อมูลที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถามจะเก็บรักษาเป็นความลับและจะนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาเท่านั้น  ดังนั้น  จึงใคร่ขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง  โดยคำตอบของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับงานวิจัย  ผู้วิจัยขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

ฐิติรัตน์  ดิษฐานพงค์
ผู้วิจัย

คำชี้แจง
แบบสอบถามมี  4  ส่วน  จำนวน      คือ
ส่วนที่  1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
สวนที่  2  ผลกระทบของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะต่อการปฏิบัติงาน
ส่วนที่  3  ปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียมาปฏิบัติสำหรับผู้ทำบัญชี
ส่วนที่  4  ข้อเสนอแนะ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม

คำชี้แจง: กรุณาตอบแบบสอบถาม โดยเลือกตัวเลือกที่ตรงกับคำตอบและความคิดเห็นของท่าน

1.1. เพศ
1.2. อายุของท่าน
1.3. ระดับการศึกษา
1.4. ประสบการณ์การทำงานของท่าน
1.5. ท่านเป็นผู้จัดทำบัญชีของกิจการประเภท
1.6. ประเภทธุรกิจที่ท่านทำบัญชี (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1.7. สถานภาพการทำงานของท่านในการทำบัญชี
1.8. ท่านเคยเข้ารับการอบรมมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ( TFRS for NPAEs) หรือไม่

ส่วนที่ 2 ผลกระทบของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะต่อการปฏิบัติงาน ( TFRS for NPAEs)

โปรดเลือกระดับความคิดเห็น ซึ่งมีระดับมากที่สุด หรือมาก หรือปานกลาง หรือน้อย หรือไม่มี เพียง 1 ข้อ ที่ตรงกับความคิดเห็นท่านมากที่สุด

เรื่อง ระดับความคิดเห็น
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มี
54321
2.1. กิจการต้องมีการทบทวนมูลค่าคงเหลือ อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์และวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาอย่างสม่ำเสมอ
2.2. กิจการต้องมีการเปลี่ยนการวัดมูลค่าโดยใช้ราคาทุนมากกว่าราคายุติธรรม
2.3. กิจการต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่พนักงานเพื่อเข้ารับการอบรมมาตรฐานใหม่ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศใช้
2.4. กิจการสามารถลดความผิดพลาดในการจัดทำงบการเงินเนื่องจากมาตรฐานที่ประกาศใช้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนมากขึ้นในการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล
2.5. กิจการลดความเสี่ยงจากการเปิดเผยข้อมูลเนื่องจากกิจการลดข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดผยข้อมูล
2.6. กิจการสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น
2.7. ท่านต้องมีการติดตามข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่ประกาศใช้
2.8. ท่านอาจเกิดความไม่แน่ใจในการปฏิบัติตามมาตรฐานว่าปฏิบัติถูกต้องตามมาตรฐาน
2.9. ท่านต้องทำการปรับปรุงงบการเงินของปีก่อนตามมาตรฐานที่ประกาศใช้ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับงบการเงินในปีปัจจุบันได้
2.10. ท่านต้องใช้เวลาและกิจการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
2.11. ท่านสามารถลดภาระในการจัดทำงบการเงิน
2.12. ท่านคิดว่าการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานฯจะมีผลกระทบต่องบการเงินมากน้อยเพียงใด
2.13. ท่านคิดว่าการประกาศใช้มาตรฐานสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของท่าน

ส่วนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียมาปฏิบัติสำหรับผู้ทำบัญชี

โปรดเลือกระดับปัญหา ซึ่งมีระดับมากที่สุด หรือมาก หรือปานกลาง หรือน้อย หรือไม่มีปัญหา เพียง 1 ข้อ ที่ตรงกับความคิดเห็นท่านมากที่สุด

3.1 ท่านพบปัญหาจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดต่อไปนี้

เรื่อง ระดับปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มีปัญหา
54321
3.1. การนำเสนองบการเงิน
3.2. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด
3.3. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
3.4. ลูกหนี้
3.5. สินค้าคงเหลือ
3.6. เงินลงทุน
3.7. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
3.8. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
3.9. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
3.10. ต้นทุนการกู้ยืม
3.11. สัญญาเช่า
3.12. ภาษีเงินได้
3.13. ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
3.14. เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
3.15. รายได้
3.16. การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
3.17. สัญญาก่อสร้าง
3.18. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

3.2 ท่านพบปัญหาจากการปฏิบัติตาม IFRS of NPAEs ในประเด็นต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใดหรือไม่

การปฏิบัติตามมาตรฐาน ระดับปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มีปัญหา
4. สินทรัพย์ 54321
4.1. ในกรณีที่กิจการมีรายการเงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการเบิกถอน ต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
4.2. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน โดยไม่ให้นำมาหักกลบกับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
4.3. ในการตัดจำหน่ายหนี้สูญและหนี้สูญได้รับคืนจะไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขทางภาษีอากรต่อไป โดยให้กิจการจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีและปรับลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งทำให้เกิดความต่างทางบัญชีและภาษี
4.4. มาตรฐานไม่อนุญาตให้กิจการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ โดยใช้วิธีอัตราร้อยละของยอดขายรวมและวิธีอัตราร้อยละของยอดลูกหนี้รวม
4.5. กิจการต้องรับรู้จำนวนที่เกิดจากการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับในงวดปัจจุบันโดยนำไปหักจากต้นทุนขายสำหรับงวดปัจจุบัน
4.6. กิจการไม่สามารถใช้วิธีเข้าหลัง-ออกก่อน ในการจำหน่ายเงินลงทุนเพียงบางส่วนราคาตามบัญชีต่อหน่วยที่ใช้ในการคำนวณกำไร(ขาดทุน)จากการจำหน่ายเงินลงทุนชนิดเดียวกัน
4.7. กิจการไม่สามารถโอนเปลี่ยนประเภทตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดไปเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม
4.8. กิจการต้องใช้วิธีราคาทุนในการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ
4.9. กิจการต้องปรับงบย้อนหลังในการรับรู้ต้นทุนทั้งหมดของการได้มาซึ่งอาคารชุดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ไว้เป็นรายการอาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาเป็นหน่วยเดียวกัน
4.10. กิจการต้องบันทึกรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละรายการแยกจากกันและคิดค่าเสื่อมราคาแยกตามส่วนที่ประกอบที่มีนับสำคัญ
4.11. กิจการต้องมีการจัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายใหม่ในงบการเงินงวดก่อนเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบงบการเงิน
4.12. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนเท่านั้น โดยไม่สามารถใช้วิธีการตีราคาใหม่ได้ ถึงแม้สามารถอ้างอิงจากตลาดได้
4.13. กิจการวัดมูลค่าภายหลังของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยวิธีราคาทุน
5. หนี้สิน 54321
5.1. ยกเลิกแนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติตามเดิม โดยเปลี่ยนเป็นรับรู้ต้นทุนการกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่าย
5.2. กิจการต้องรวมต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิต สินทรัพย์เป็นราคาทุนของสินทรัพย์
5.3. มาตรฐานกำหนดให้รับรู้ผลประโยชน์พนักงานด้วยประมาณการที่ดีที่สุด
5.4. กิจการอาจเลือกการรับรู้ผลประโยชน์พนักงานตาม TAS 19 แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ
5.5. กิจการต้องไม่รับรู้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น แต่สามารถเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
6. รายได้และค่าใช้จ่าย 54321
6.1. กิจการสามารถรับรู้รายได้ดอกเบี้ย โดยรับรู้ตามวิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีสาระสำคัญ
6.2. กิจการต้องมีการพิจารณาถึงเนื้อหาของรายการมากกว่ารูปแบบตามสัญญาในการจัดประเภทสัญญาเช่าว่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าการดำเนินงาน
6.3. กิจการต้องพิจารณาเลือกการรับรู้ภาษีเงินได้ ซึ่งมาตรฐานได้กำหนดทางเลือกไว้ 2 ทางเลือก
7. อื่นๆ 54321
7.1. กรณีที่กิจการมีรายการค้า เหตุการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ซึ่งมาตรฐานไม่ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ กิจการจะต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้นโยบายการบัญชี
7.2. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด ในการปรับปรุงรายงานการเงินของกิจการที่มาตรฐานมีผลบังคับใช้

3.3 ในภาพรวม ท่านพบปัญหาจากการนำ IFRS of NPAEs มาใช้นั้น พบว่าสาเหตุมาจากข้อใดบ้าง

หัวข้อ ระดับปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มีปัญหา
54321
8.1. มาตรฐานกำหนดทางเลือกในการปฏิบัติตามมาตรฐานมีหลายวิธี อาจทำให้เกิดความสับสน
8.2. ขาดตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพเพื่อใช้ในการสร้างความเข้าใจในมาตรฐานที่นำมาปฏิบัติ
8.3. มีความซับซ้อนและยากต่อการนำไปปฏิบัติ
8.4. ภาษาที่ใช้ในมาตรฐานทำให้เข้าใจยาก
8.5. กิจการยังไม่มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐาน
8.6. ระบบคอมพิวเตอร์ของกิจการยังไม่สามารถจัดการหรือรองรับข้อมูลได้
8.7. กิจการยังไม่มีความพร้อมทางด้านบุคลากรในการปฏิบัติตามมาตรฐาน
8.8. มาตรฐานบางเรื่องทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยากในการปฏิบัติ เช่น การประมาณการผลประโยชน์พนักงาน การคิดค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ เป็นต้น
8.9. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลในงบการเงินลดลง เนื่องจากมาตรฐานลดความยุ่งยากในการจัดทำงบการเงิน

ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ

9. ในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ท่านพบว่ามาตรฐานเรื่องใดที่มีปัญหาในการปฏิบัติงานมากที่สุด
10.

ขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาตอบแบบสอบถาม