โครงการวิจัย "การศึกษาผลกระทบของมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ที่มีต่อผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชี" (สำหรับผู้สอบบัญชี)

 

ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้ออกประกาศให้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554  เป็นต้นไป  เพื่อแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ  ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลจากรายงานทางการเงินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบกิจการและผู้ใช้งบการเงินได้

งานวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้ทำบัญชี ที่นำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะมาปฏิบัติ  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต   ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้ทำและให้ข้อเสนอแนะแนวทางนำประโยชน์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่อไป  ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต  คณะการบัญชี  โดยข้อมูลที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถามจะเก็บรักษาเป็นความลับและจะนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาเท่านั้น  ดังนั้น  จึงใคร่ขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง  โดยคำตอบของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับงานวิจัย  ผู้วิจัยขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

ฐิติรัตน์  ดิษฐานพงค์
ผู้วิจัย

คำชี้แจง
แบบสอบถามมี  4  ส่วน  จำนวน      คือ
ส่วนที่  1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
สวนที่  2  ผลกระทบของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะต่อการปฏิบัติงาน
ส่วนที่  3  ปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียมาปฏิบัติสำหรับผู้สอบบัญชี
ส่วนที่  4  ข้อเสนอแนะ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม

คำชี้แจง: กรุณาตอบแบบสอบถาม โดยเลือกตัวเลือกที่ตรงกับคำตอบและความคิดเห็นของท่าน

1.1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1.2. เพศ
1.3. อายุของท่าน
1.4. ระดับการศึกษา
1.5. อายุงานในอาชีพผู้สอบบัญชี
1.6. สำนักงานสอบบัญชีที่ท่านสังกัดอยู่ในปัจจุบัน * (อื่นๆ เช่น ผู้สอบบัญชีอิสระที่ไม่สังกัดสำนักงาน)
1.7. ปัจจุบันท่านปฏิบัติงานในตำแหน่งใด
1.8. ประสบการณ์ในการตรวจสอบบัญชีกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
1.9. ประสบการณ์ในการลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน เฉพาะกิจการ ที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
1.10. ท่านเคยเข้ารับการอบรมมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ( TFRS for NPAEs) หรือไม่

ส่วนที่ 2 ผลกระทบของการนำมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะต่อการปฏิบัติงาน ( TFRS for NPAEs)

โปรดเลือกระดับความคิดเห็น ซึ่งมีระดับมากที่สุด หรือมาก หรือปานกลาง หรือน้อย หรือไม่มี เพียง 1 ข้อ ที่ตรงกับความคิดเห็นท่านมากที่สุด

ประเด็น ระดับความคิดเห็น
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มี
54321
2.1. การกำหนดรายงานทางการเงินประเทไทย ให้มี 2 ชุด ได้แก่ TFRS for PAEs และ TFRS for NPAEs ส่งผลให้ผู้สอบบัญชีมีภาระงานมากขึ้นในการทำงานเนื่องจากต้องศึกษามาตรฐานการรายงานทางการเงินก่อนนำไปปฏิบัติ
2.2. TFRS for NPAEs ส่งผลให้ผู้สอบบัญชีต้องทดสอบการบันทึกรายการของกิจการมากขึ้น
2.3. ในการเปลี่ยนระบบบัญชีให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs ทำให้การออกรายงานงบการเงินล่าช้า
2.4. การปรับปรุง TFRS for NPAEs มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของท่าน
2.5. ท่านคิดว่าการเปลี่ยนแปลง TFRS for NPAEs ทำให้คุณภาพของงบการเงินลดลง
2.6. ท่านต้องตระหนักถึงข้อควรพิจารณามากขึ้นในการสอบบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนเสียสาธารณะ
2.7. การรับงานในปริมาณที่พอเหมาะสม ทำให้การสอบบัญชีและคุณภาพของงบการเงินมีประสิทธิภาพ
2.8. เมื่อมี TFRS for NPAEs ใหม่ประกาศใช้ผู้สอบบัญชีควรมีการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น
2.9. ควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ TFRS for NPAEs ที่กำหนดใช้ ซึ่งมีผลต่อการนำไปปฏิบัติ
2.10. การประกาศใช้ TFRS for NPAEs ทำให้ต้องมีเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น

ส่วนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคของการนำ TFRS for NPAEs มาปฏิบัติสำหรับผู้สอบบัญชี

โปรดเลือกระดับปัญหา ซึ่งมีระดับมากที่สุด หรือมาก หรือปานกลาง หรือน้อย หรือไม่มีปัญหา เพียง 1 ข้อ ที่ตรงกับความคิดเห็นท่านมากที่สุด

3.1 ท่านพบว่าการนำ TFRS for NPAEs มาใช้ มีปัญหาปัญหาในเรื่องใดต่อไปนี้

เรื่อง ระดับปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มีปัญหา
54321
3.1. การนำเสนองบการเงิน
3.2. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยน แปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิด พลาด
3.3. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
3.4. ลูกหนี้
3.5. สินค้าคงเหลือ
3.6. เงินลงทุน
3.7. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
3.8. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
3.9. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
3.10. ต้นทุนการกู้ยืม
3.11. สัญญาเช่า
3.12. ภาษีเงินได้
3.13. ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
3.14. เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
3.15. รายได้
3.16. การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
3.17. สัญญาก่อสร้าง
3.18. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

3.2 ท่านพบปัญหาจากการตรวจสอบบัญชีจากการประกาศใช้ TFRS for NPAEs ในประเด็นต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใดหรือไม่

ประเด็นการตรวจสอบ ระดับปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มีปัญหา
4. การวางแผนงานตรวจสอบ 54321
4.1. การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจของกิจการ
4.2. การศึกษาระบบบัญชีของกิจการ
4.3. ปัญหาด้านการพิจารณาสถานการณ์ที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษหรือความเสี่ยงที่ผิดปกติในการตอบรับงานสอบบัญชี
5. การปฏิบัติงานตรวจสอบ 54321
5.1. การตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของเงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในเบิกถอน
5.2. การตรวจสอบมูลค่าหนี้สูญที่ตัดจำหน่ายระหว่างงวด
5.3. การตรวจสอบจำนวนและรายละเอียดของลูกหนี้ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
5.4. การตรวจสอบนโยบายการรายงานทางเงินฯ ที่ใช้วัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ และวิธีที่ใช้คำนวณราคาทุน
5.5. การตรวจสอบมูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภท ที่จำแนกตามความเหมาะสมของกิจการ
5.6. การตรวจสอบมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานในรอบระยะเวลารายงาน
5.7. การตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับราคาทุนตัดจำหน่าย จำนวนเงินตามสัญญา และระยะเวลาที่ครบกำหนดของเงินลงทุนในตราสารหนี้
5.8. การตรวจสอบการวัดมูลค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาดและเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด
5.9. การตรวจสอบวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและอายุการให้ประโยชน์หรืออัตราค่าเสื่อมราคาที่ใช้
5.10. การตรวจสอบจำนวนและข้อจำกัดในกรรมสิทธิ์ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน
5.11. การตรวจสอบจำนวนเงินภาระผูกพันตามสัญญาที่ตกลงไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
5.12. การตรวจสอบอายุให้ประโยชน์หรืออัตราการจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
5.13. การตรวจสอบยอดระหว่างมูลค่าตามบัญชี ณ วันต้นงวดกับมูลค่าตามบัญชี ณ วันสิ้นงวด
5.14. การตรวจสอบข้อจำกัดและจำนวนเงินของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีข้อจำกัด หรือการโอนรายได้และเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายที่มีข้อจำกัด
5.15. การตรวจสอบการกระทบยอดระหว่างมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันต้นงวดกับวินสิ้นงวด
5.16. การตรวจสอบการกระทบยอด ณ วันสิ้นรอบระยะยเวลารายงานระหว่างจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายกับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นของผู้เช่าและผู้ให้เช่า
5.17. การตรวจสอบจำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ในระหว่างงวด
5.18. การตรวจสอบการบันทึกบัญชีรายการเงินภาษีเงินได้ว่าใช้วิธีใดในการปฏิบัติงาน
5.19. การตรวจสอบจำนวนประมาณการหนี้สิน ณ วันต้นงวดและวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
5.20. การตรวจสอบจำนวนรายได้แต่ละประเภทที่มีนัยสำคัญที่รับรู้ระหว่างงวด
5.21. การตรวจสอบนโยบายที่กิจการใช้ในการรับรู้รายได้
5.22. การตรวจสอบวิธีการกำหนดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จว่าใช้วิธีใดในการบันทึกรายการบัญชี
5.23. การตรวจสอบข้อมูลการรายรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
5.24. การตรวจสอบวิธีที่ใช้ในการกำหนดรายได้ค่าก่อสร้างที่รับรู้เป็นรายได้ในระหว่างงวด
5.25. การตรวจสอบวิธีที่ใช้ในการกำหนดรายได้ค่าก่อสร้างที่รับรู้เป็นรายได้ในระหว่างงวดและวิธีที่ใช้ในการกำหนดขั้นความสำเร็จของงานระหว่างก่อสร้าง
5.26. การตรวจสอบการบันทึกรายการบัญชีในการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เกิดรายการเป็นสกุลเงินบาท
6. อื่น 54321
6.1. ความคิดเห็นขัดแย้งระหว่างกิจการและผู้สอบบัญชี เนื่องจาก TFRS for NPAEs มีบางประเด็นที่ต้องอาศัยดุลยพินิจในการเลือกปฏิบัติ
6.2. การสรุปความเห็นของการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
6.3. สามารถตรวจสอบการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด ในการปรับปรุงรายงานการเงินของกิจการที่มาตรฐานมีผลบังคับใช้
6.4. สามารถตรวจสอบการปรับปรุงกำไร(ขาดทุน)สุทธิทางบัญชีเป็นกำไร(ขาดทุน)สุทธิเพื่อเสียภาษอากรได้
6.5. การตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระคัญทางด้านาภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

3.3 ในภาพรวม ท่านพบปัญหาการสอบบัญชีของการนำ TFRS for มาใช้นั้น พบว่าสาเหตุมาจากข้อใดบ้าง

หัวข้อ ระดับปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดมากปานกลางน้อยไม่มีปัญหา
54321
7.1. มาตรฐานกำหนดทางเลือกในการปฏิบัติตามมาตรฐานมีหลายวิธี อาจทำให้เกิดความสับสน
7.2. ขาดตัวอย่างในการสื่อสารวิธีการปฏิบัติเพื่อใช้ในการสร้างความเข้าใจในมาตรฐานที่นำมาปฏิบัติ
7.3. มีความซับซ้อนและยากต่อการนำไปปฏิบัติ
7.4. ภาษาที่ใช้ในมาตรฐานทำให้เข้าใจยาก
7.5. กิจการยังไม่มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐาน
7.6. ระบบคอมพิวเตอร์ของกิจการยังไม่สามารถจัดการหรือรองรับข้อมูลได้
7.7. กิจการยังไม่มีความพร้อมทางด้านบุคลากรในการปฏิบัติตามมาตรฐาน
7.8. มาตรฐานบางเรื่องทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยากในการปฏิบัติ เช่น การประมาณการผลประโยชน์พนักงาน การคิดค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ เป็นต้น
7.9. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลในงบการเงินลดลง เนื่องจากมาตรฐานลดความยุ่งยากในการจัดทำงบการเงิน

ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ

8. ในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ท่านพบว่ามาตรฐานเรื่องใดที่มีปัญหาในการปฏิบัติงานมากที่สุด
9.

ขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาตอบแบบสอบถาม